สาธารณรัฐฮังการีที่ 1
สาธารณรัฐฮังการีที่ 1

สาธารณรัฐฮังการีที่ 1

สาธารณรัฐฮังการีที่ 1 (ฮังการี: Első Magyar Köztársaság)[1] หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาชนฮังการี (ฮังการี: Magyar Népköztársaság)[lower-alpha 7] เป็นสาธารณรัฐที่มีอยู่เป็นเวลาสั้น ๆ ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศฮังการี ประเทศโรมาเนีย[lower-alpha 8] และประเทศสโลวาเกียในปัจจุบัน และดำรงอยู่ระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920 สาธารณรัฐก่อตั้งขึ้นหลังความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเมื่อ ค.ศ. 1918 และคงสถานะเป็นสาธารณรัฐจนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920 เนื่องจากการฟื้นฟูระบอบราชาธิปไตยฮังการี จึงทำให้ประเทศฮังการีในเวลาต่อมาถูกเปลี่ยนผ่านเป็นราชอาณาจักร ในช่วงปลายเดือนมีนาคม ค.ศ. 1919 สาธารณรัฐประชาชนได้หยุดชะงักลงอันเป็นผลมาจากการสถาปนาระบอบคอมมิวนิสต์และการจัดตั้งสาธารณรัฐโซเวียตฮังการีขึ้นโดยรัฐบาลผสมประชาธิปไตย–สังคมนิยม ซึ่งดำรงอยู่เพียง 133 วัน กระทั่งมีการฟื้นฟูระบอบสาธารณรัฐประชาชนขึ้นมาอีกครั้งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1919 อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 6 สิงหาคม รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนก็ถูกโค่นล้มโดยกลุ่มต่อต้านการปฏิวัติฝ่ายขวา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโรมาเนียในช่วงเริ่มแรก สาธารณรัฐประชาชนฮังการีอยู่ภายใต้ผู้นำคือ มิฮาย กาโรยี ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีชั่วคราวของฮังการี โดยในระยะเวลานี้เองที่ประเทศต้องสูญเสียดินแดนเป็นจำนวนมากให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 325,411 ตารางกิโลเมตร จากความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐบาล นำไปสู่ความไม่พอใจของประชาชนและการก่อตัวขึ้นของระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งทำให้ในเวลาต่อมารัฐบาลได้ถูกโค่นล้มโดยพรรคคอมมิวนิสต์ฮังการีและประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐโซเวียตขึ้น โดยดำเนินการปกครองตามแบบอย่างของคอมมิวนิสต์รัสเซีย แต่เนื่องจากความขัดแย้งทางการทหารกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างโรมาเนีย ทำให้สาธารณรัฐโซเวียตที่มีอายุสั้นล่มสลายลง หลังจากนั้นรัฐบาลประชาธิปไตยสังคมนิยมได้เข้ามามีอำนาจ จึงถือเป็นการฟื้นฟูระบอบสาธารณรัฐประชาชนขึ้นอีกครั้ง โดยในช่วงนี้รัฐบาลได้ทำการยกเลิกมาตรการทั้งหมดที่ผ่านโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตาม ในอีกไม่กี่วันต่อมารัฐบาลได้ถูกโค่นล้มโดยกลุ่มต่อต้านการปฏิวัติฝ่ายขวาที่นำโดย อิชต์วาน ฟรีดริช ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนอย่างกว้างขวางในช่วงของรัฐบาลฝ่ายขวา ชาวฮังการีต่างได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากฝ่ายสัมพันธมิตร เนื่องจากต้องการให้ประชากรชาวฮังการีอพยพถอยกลับไปตามแนวแบ่งเขตที่กำหนดไว้หลังสงคราม เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงจากการประชุมสันติภาพปารีส ซึ่งเป็นหนึ่งในความพยายามของฝ่ายสัมพันธมิตรในการสถาปนารัฐชาติใหม่ท่ามกลางพลเมืองที่ไม่ใช่ชาวฮังการี ประเทศที่ได้รับผลประโยชน์หลักจากการสูญเสียดินแดนในครั้งนี้ ได้แก่ ราชอาณาจักรโรมาเนีย ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน สาธารณรัฐออสเตรีย และสาธารณรัฐเชโกสโลวัก ต่อมามีการทำสนธิสัญญาทรียานงโดยจะได้ลงนามในภายหลัง

สาธารณรัฐฮังการีที่ 1

• 31 ตุลาคม 1918 มิฮาย กาโรยี
การปกครอง รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐประชาชน
สกุลเงิน
• 21 มีนาคม 1919 ว่าง
• 11 มกราคม 1919 เดแน็ช เบริงคีย์
สภานิติบัญญัติ
สถานะ รัฐตกค้างที่ได้รับการยอมรับอย่างไม่สมบูรณ์
• 23 สิงหาคม 1919 อิชต์วาน ฟรีดริช[lower-alpha 4]
• ล้มล้างโดยโซเวียต 21 มีนาคม 1919
• เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐฮังการี 8 สิงหาคม 1919
• 1920 7,980,143
• 1 สิงหาคม 1919 จูลอ ไพเดิล
• การยอมรับทางการทูต 25 พฤศจิกายน 1919
• การเลือกตั้ง 25-26 มกราคม 1920
• การปฏิวัติเบญจมาศ 31 ตุลาคม 1918
• ฟื้นฟูราชาธิปไตย 29 กุมภาพันธ์ 1920
ภาษาราชการ ฮังการี
เดมะนิม ฮังการี
ภาษาถิ่น เยอรมัน, สโลวัก, โครเอเชีย, โรมาเนีย
• 7 สิงหาคม 1919 อิชต์วาน ฟรีดริช
นายกรัฐมนตรี  
• 24 พฤศจิกายน 1919 กาโรย ฮูสซาร์
เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด บูดาเปสต์
พิกัดภูมิศาสตร์: 47°29′N 19°02′E / 47.483°N 19.033°E / 47.483; 19.033
• รวม 282,870 ตารางกิโลเมตร (109,220 ตารางไมล์)[lower-alpha 6]
• 16 พฤศจิกายน 1918 มิฮาย กาโรยี
ประธานาธิบดี  
• ฟื้นฟูสาธารณรัฐอีกครั้ง 1 สิงหาคม 1919
ยุคประวัติศาสตร์ ระหว่างสงคราม
• ประกาศจัดตั้ง 16 พฤศจิกายน 1918

แหล่งที่มา

WikiPedia: สาธารณรัฐฮังการีที่ 1 http://anno.onb.ac.at/cgi-content/anno?apm=0&aid=n... http://www.conflicts.rem33.com/images/Ungarn/modhu... http://epa.oszk.hu/01900/01994/00006/pdf/CARHS_197... http://theorangefiles.hu/the-first-hungarian-repub... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... https://books.google.com/books?id=36WsAgAAQBAJ&pg=... https://books.google.com/books?id=AkppAAAAMAAJ https://books.google.com/books?id=NQodBQAAQBAJ&pg=... https://books.google.com/books?id=OKDRvNHdraoC&pg=... https://books.google.com/books?id=PI9nw2tQu4IC&pg=...